Support
travelchoicetv.com
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

นาเกลือ - หาดเจ้าสำราญ

info@twoplusone.asia | 03-04-2557 | เปิดดู 1519 | ความคิดเห็น 0

  

 

ตลอดเส้นทางหลวงชนบท สมุทรสงคราม 2021 เส้นทางนี้ เราจะพบกับนาเกลือจำนวนมากที่กองเป็นยอดแหลมสีขาวโพลนวางเรียงซ้อนกันเป็นแถวเลยละคะ การทำนาเกลือถือเป็นอาชีพรองจากอาชีพการทำประมงของชาวบ้าน ที่เพชรบุรีนี่แหละคะเป็นแหล่งผลิตเกลือสมุทรที่สำคัญ และถือว่าเกลือจากเพชรบุรีมีคุณภาพที่สุดจากจำนวนสี่เมืองของไทย

 

 

 

เคยสงสัยเหมือนกันไหมค่ะว่า ทำไม นาเกลือต้องโกยเกลือเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด ที่ต้องโกยเกลือขึ้นมาเป็นสามเหลี่ยมพีระมิดแบบนะค่ะ  ก็เพื่อง่ายต่อการคิดค่าแรง หรือ แรงหาบค่ะ  แรงหาบ คือ แรงงานที่รับจ้างหาบเกลือค่ะ หาบได้มากลูกก็ได้ค่าแรงมาก ที่บ้านแหลมแห่งนี้เค้าเรียก กองเกลือเป็นลูกค่ะ  แต่ก็ยังแอบมีข้อสงสัยอีกข้อหนึ่งค่ะว่า ทำไมนาเกลือที่นี่แตกต่างจากนาเกลือที่เคยเห็นมาเพราะมีผ้าใบสีดำปูไว้ ก็ได้ให้คำตอบว่า แค่ราคาก็แตกต่างกันแล้วค่ะ นาเกลือผ้าใบก็จะแตกต่างกว่าครึ่งหนึ่งของราคานาเกลือดิน ความแตกต่างระหว่างนาเกลือผ้าใบกับนาเกลือดิน เรื่องความสะอาดก็แตกต่างกันแล้วค่ะ อย่างเวลาฝนตกนาเกลือดิน เกลือจะดำใช้ไม่ได้ต้องทำใหม่อย่างเดียว แต่นาเกลือผ้าใบก็แค่ปล่อยน้ำออก รอการผันน้ำทะเลเข้ามาใหม่แล้วก็ปล่อยทิ้งไว้ให้น้ำทะเลตกผลึกเป็นเม็ดเกลือ สามารถทำได้ทั้งปีและให้เม็ดเกลือที่ขาวกว่า ส่วนนาดินพอย่างเข้าเดือนหกแรมค่ำ หรือที่เรียกว่านาปี ก็ทำไม่ได้แล้วเพราะฝนลงค่ะ

ส่วนค่าใช้จ่ายในการทำนาเกลือ นาดินกับนาเกลือผ้าใบ  กระทงนึงราคาอยู่ที่สองแสนบาทค่ะ  นาดินธรรมดาการลงทุนอยู่ที่ห้าพันถึงแปดพันบาท ซึ่งราคาต่างกันเยอะมาก กระทงที่เห็น  ในการทำนาเกลือกระทงนึงใช้เวลายี่สิบวัน ถ้าฝนไม่ตกลงมาซะก่อนนะค่ะ อย่างที่เราเห็นเกลือกองกันอยู่ช่วงบ่ายๆ แบบนี้จะมีแรงงานหาบเกลือมาหาบค่ะ หาบหมดก็ผันน้ำเข้ารอยี่สิบวัน น้ำทะเลตกผลึกเป็นเม็ดเกลือก็เก็บต่อได้เลยค่ะ  ส่วนนาดิน จะใช้เวลา 25 วันในการตกผลึกเป็นเม็ดเกลือค่ะ ซึ่งใช้เวลานานกว่า

สงสัยใช่ไหมค่ะ   ว่ากระทงคืออะไร  กระทงคือพื้นที่ของนาเกลือ ที่คนบ้านแหลม เรียกกันค่ะ

 

 

 

 

จากรายงานของสถาบันเกลือนานาชาติ  พบว่า ประเทศที่ผลิตเกลือรายใหญ่ของโลก คือ สหรัฐอเมริกา จีน เยอรมัน อินเดีย และ แคนนาดา ล้วนแต่เป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์เกี่ยวข้องกับเกลือมาตั้งแต่สมัยโบราณ ทั้งในด้านการค้าขายเกลือ และการผลิตเกลือ  ประเทศเหล่านี้จึงเป็นต้นแบบของการผลิตเกลือที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำเกลือด้วยน้ำเค็มทะเลในประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ ที่ในสมัย ก่อนคนไทยเราเรียกว่า ประเทศสหปาลีรัฐอเมริกา 

 

   

 

   

อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของประเทศ   เขามีระบบการผลิตด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย  และจัดอยู่ในหมวดสินค้าเป็นช่วงเวลาที่ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีพระราชประสงค์ที่จะแก้ไขวิธีทำเกลือของประเทศสยามในขณะนั้น ให้ได้รับผลที่ดีขึ้นกว่าเดิม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ส่งคนไทยไปศึกษาแบบอย่างการทำเกลือถึงประเทศสหปาลีรัฐอเมริกา

 

ถนนสายเกลือเส้นนี้  นอกจากจะเป็นถนนแห่งการเรียนรู้แล้ว ถนนเส้นนี้ยังถือได้ว่าเป็นถนนชมวิว หรือscenicroad ที่สวยงามมากทีเดียวค่ะ  ที่สำคัญถนนเส้นนี้จะนำเราไปสู่สถานที่ที่สำคัญในประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับล้นเกล้ารัชกาลที่ ของพวกเราอีกเช่นกันค่ะ

         

  

 

   

 

 

หาดเจาสำราญนั้นเดิมเรียกว่า "ค่ายหลวงบางทะลุ" เนื่องจากมีรายงานกราบบังคมทูลรัชกาลที่ 6 ว่า ที่ดินตำบลบางทะลุ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี มีหาดทรายสะอาด เหมาะที่จะใช้เป็นสถานที่พักฟื้นจากพระอาการประชวร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ดำเนินการก่อสร้างพระราชวังแบบเรียบง่ายขึ้น  ในพุทธศักราช2460  แล้วพระราชทานชื่อชายทะเลบริเวณนั้นว่า  หาดเจ้าสำราญ  

 

 

ส่วนพระราชวังนั้นข้าราชบริพารและประชาชนทั่วไปมักเรียกกันติดปากว่า ค่ายหลวงหาดเจ้าสำราญ  เพราะนอกจากจะทรงใช้เป็นที่ประทับแรมเพื่อพระพลานามัยแล้ว ยังใช้สำหรับทอดพระเนตรการซ้อมรบของกองกำลังเสือป่าจังหวัดเพชรบุรีอีกด้วย

 

 

และเพื่อให้การเดินทางมายังค่ายหลวงเกิดความสะดวกมากขึ้น ทั้งสำหรับการขนส่งคนและอุปกรณ์ตลอดจนเสบียงต่างๆจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระยาวรพงศ์พิพัฒน์  เป็นแม่กองจัดสร้างรถไฟรางเล็ก สายเพชรบุรี-บางทะลุ หรือ ที่เรียกว่า  ทางรถไฟเล็กสายหาดเจ้าสำราญขึ้น ในพุทธศักราช 2462 

 

     

 

ประโยชน์ของรถไฟเล็กนี้เพื่อขนผู้โดยสารคือข้าราชบริพาร ตามเสด็จระหว่างตัวเมืองกับค่ายหลวง รถไฟขบวนนี้มี 6 คัน บรรทุกผู้โดยสารได้คันละ 24-30 คน ซึ่งนอกจากจะลำเลียงผู้โดยสารแล้ว ยังต้องใช้ลำเลียงน้ำจืดไปยังค่ายอีกด้วย  แต่การเดินทางมักเกิดปัญหาบ่อยๆ เพราะรถขบวนนี้ใช้ตัวรถจักรไอน้ำของเก่านำมาปรับปรุงใหม่ และรถก็ยังอยู่ในสภาพที่ไม่คอยดีนัก เมื่อแล่นไปได้ไม่เท่าไรตะขอพ่วงจะหลุด และทางที่วางรางรถนั้นก็ไม่ค่อยมีความมั่นคงแข็งแรง  จึงทรงมีพระราชดำริย้ายพระ ราชฐานจากค่ายหลวงหาดเจ้าสำราญไปอยู่ที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

 

    

ปัจจุบันหาดเจ้าสำราญ เป็นเพียงชื่ออนุสรณ์พระตำหนักประทับร้อนหาดเจ้าสำราญเท่านั้น  ส่วนทางรถไฟสายหาดเจ้าสำราญ ก็ถูกแทนที่ด้วยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3177  สายเพชรบุรี-หาดเจ้าสำราญค่ะ

จากเรื่องเล่านาเกลือ...ไปเรื่องทางรถไฟสายหาดเจ้าสำราญ...เรื่องแรกยังคงดำเนินไปตามวิถีของมัน ถีงแม้จะเป็นเพียงมุมมองสำหรับการถ่ายรูปของนักท่องเที่ยวที่ผ่านมา แต่ถ้าหากได้ลงไปสัมผัสและเรียนรู้ เราจะได้สัมผัสกับประสบการณ์ที่มีคุณค่า และได้ต่อยอดในการค้นคว้าเรื่องราวด้วยตัวของมันเอง

ส่วนเรื่องทางรถไฟสายหาดเจ้าสำราญ  ปัจจุบันถึงจะไม่มีร่องรอยหลงเหลืออยู่ แต่ก็กลายเป็นความทรงจำและเรียนรู้ว่า...ครั้งหนึ่ง หาดเจ้าสำราญก็เคยมีเสียงหวูดรถไฟ.... 

 

ความคิดเห็น

วันที่: Sat May 18 16:03:01 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0