เรือนยอด
ในงานสถาปัตยกรรมไทยมักจะมีความผูกพันกับศาสนาเป็นหลัก ซึ่งจะเห็นได้จากการสร้างศาสนสถาน เพื่อเป็นพุทธบูชาและเทวบูชา ดังนั้นการออกแบบจึงเน้นรูปร่างลักษณะที่สูงเด่นกว่าอาคารอื่น ๆ ทำให้เกิดลักษณะของสถาปัตยกรรมที่มีหลังคาทรงสูง
เรือนยอด มาจากคำเดิมในภาษาสันสกฤตว่า กุฎาคาร (กุ-ดา-คาน) สำหรับเรือนยอดในสถาปัตยกรรมไทยนั้นหมายถึงอาคารที่มีหลังคาทรงสูง โดยเฉพาะเป็นอาคารที่ใช้ในกิจที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และ
- หลังคายอดมณฑป ตัวอย่างเช่น มณฑปหอไตรวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- หลังคายอดปรางค์ ตัวอย่างเช่น พระเวชยันต์วิเชียรปราสาท พระที่นั่งปราโมทย์มไหศวรรย์ จังหวัดเพชรบุรี
- หลังคายอดปราสาท มี 2 รูปแบบคือ
ยอดมณฑปผสมจัตุรมุข หรือเรียกว่าปราสาทยอด ตัวอย่างเช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
ยอดปรางค์ผสมจัตุรมุข หรือเรียกว่าปราสาทยอดปรางค์ ตัวอย่างเช่น ปราสาทพระเทพบิดร
- หลังคายอดมงกุฎ ตัวอย่างเช่น มณฑปพระพุทธบาทที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
และ หลังคายอดเจดีย์ ตัวอย่างเช่น ซุ้มเสมารอบพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
วันที่: Mon Nov 25 11:36:17 ICT 2024
|
|
|