เสมา
เสมา หรือ “สีมา” ตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ หมายถึง เขตกำหนดความพร้อมเพรียงของสงฆ์ หรือเขตชุมนุมของสงฆ์ หรือเขตที่สงฆ์ตกลงไว้สำหรับภิกษุทั้งหลายที่อยู่ภายในเขตนั้นจะต้องทำสังฆกรรมร่วมกัน โดยจะเรียกพื้นที่ที่มีใบเสมาล้อมรอบว่า ”เขตสังฆกรรม”
โดยทั่วไปแล้ว ใบเสมาก็จะมีเพียง 1 ใบ ใน 1 ตำแหน่ง
แต่บางวัด บางพื้นที่ ก็จะมีเสมา 2-3 ใบ ในหนึ่งตำแหน่ง ใบเสมาที่มี 2 ใบ เราจะเรียกว่า เสมาคู่ ใบเสมาที่มี 3 ใบเราจะเรียกว่าเสมากลุ่ม
เสมา ที่ค้นพบในประเทศไทยนั้นจะมีรูปแบบลักษณะทั้งขนาด รูปร่าง และลวดลายประดับที่แตกต่างกันตามยุคสมัยมาโดยตลอด ซึ่งพอสรุปได้ว่า ในยุคสุโขทัยนั้นใช้เสมาลักษณะเป็นแผ่นใหญ่ทำด้วยหินชนวน
สมัยอโยธยานิยมใช้หินทรายขนาดใหญ่ และเริ่มมีการสลักลวดลาย สมัยอยุธยาตอนปลาย ใบเสมาจะมีขนาดเล็กลงอย่างเห็นได้ชัด พร้อมกับทำฐานหรือแท่นสูงสำหรับปักเสมา หรือเรียกโดยรวมว่า “เสมานั่งแท่น”และมีการสร้างเรือนหรือซุ้มครอบแผ่นเสมาไว้ เรียกกันว่า “ซุ้มเสมา” และเมื่อเข้าสู่ยุครัตนโกสินทร์ ซุ้มเสมาก็ได้รับการเน้นความสำคัญมากขึ้นและสร้างอย่างวิจิตรงดงามยิ่งนัก
วันที่: Mon Nov 25 16:44:26 ICT 2024
|
|
|