Support
travelchoicetv.com
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

จังโก

info@twoplusone.asia | 18-12-2556 | เปิดดู 1324 | ความคิดเห็น 0

จังโก

 

 

ในสมัยอยุธยานั้น  พบว่างานช่างบุ ดุนโลหะ เป็นงานศิลปะที่ได้รับความนิยมเป็นอันมาก พบได้จากศิลปวัตถุโบราณที่เป็นเครื่องทองจำนวนมากที่ขุดพบได้จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะและวัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

  

 

อาณาจักรล้านนา เป็นดินแดนอีกแห่งหนึ่งที่งานช่างบุ ดุนโลหะ เป็นที่นิยมเป็นอันมาก ดังปรากฏให้เห็นในการประดับตกแต่งองค์พระธาตุเจดีย์ที่สำคัญๆ แทบทุกแห่ง มักจะหุ้มหรือบุด้วยแผ่นโลหะ เรียกกันในภาษาท้องถิ่นว่า จังโก  หรือ สุวรรณจังโก (อ่านว่า สุ-วัน-จัง-โก) และมีการประดับด้วยฉัตรอันงดงามที่เกิดจากงานช่างบุ ดุน และฉลุลวดลาย

 

  

 

จังโก หรือ สำเนียงคนท้องถิ่นออกสำเนียงว่า จังโก๋  คือแผ่นโลหะที่แผ่เป็นแผ่นแบน บาง ใช้หุ้มส่วนปลายหรือยอดขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนา หรือ แผ่หุ้มทั้งองค์พระเจดีย์ เพื่อความคงทนกันแดดกันฝน มักปิดทองทับให้ดูสุกใส หรืออาจสลักดุนเป็นลวดลายหรือเป็นรูปพระพุทธเจ้า

 

 

 

ปัจจุบัน การหุ้มแผ่นโลหะองค์พระธาตุเจดีย์ในวัฒนธรรมล้านนา เกิดความนิยมใหม่ในการใช้แผ่นทองเหลือง ปิดทองคำเปลวแทนวัสดุดั้งเดิม ซึ่งบางครั้งพบว่า ในการกรุแผ่นจังโกเดิมนั้น ใช้แผ่นทองแดงกรุองค์พระธาตุเจดีย์แล้วปิดทองคำเปลวทับอีกชั้นหนึ่ง


 

ความคิดเห็น

วันที่: Mon Nov 25 14:25:42 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0