สัตตภัณฑ์
สัตตภัณฑ์ เป็นคำในภาษาล้านนา หมายถึง เชิงเทียนที่ใช้ในการบูชาพระประธานในวิหาร เป็นผลงานศิลปะแห่งภูมิปัญญาชาวล้านนา ที่ตกผลึกทางความคิดและถูกถ่ายทอดออกมาภายใต้คติ ความเชื่อที่ผสมผสานกันระหว่างศาสนาพุทธและพราหมณ์ กลายเป็นผลงานศิลปกรรมเชิงเทียนอันทรงคุณค่า การประดิษฐ์ สัตตภัณฑ์ แต่ละชิ้น ล้วนออกแบบลวดลายงดงามแตกต่างกันไปตามความเชื่อและศรัทธา ของแต่ละบุคคล สัตตภัณฑ์ส่วนใหญ่จะสร้างด้วยไม้มีลักษณะเป็นแผงรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วติดไม้กลึงเป็นเชิงเทียน ๗ เชิง กรอบมักทำเป็นรูปพญานาคเลื้อยลงมาคล้ายกรอบหน้าบัน
สัตตภัณฑ์ อาจแบ่งตามรูปลักษณะเป็น 2 แบบ คือแบบที่มีลักษณะคล้ายขั้นบันไดซึ่งมีที่สำหรับปักเทียนลดหลั่นกันลงมาได้ 7 – 9 ที่ และแบบที่เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วซึ่งจะมีที่สำหรับปักเทียนไล่จากยอดถึงฐานทั้งสองด้านรวม 7 ที่ สันนิษฐานว่าหมายถึง ภูเขาสัตตบริภัณฑ์ทั้ง 7 ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุอันเป็น สรวงสวรรค์ที่ประทับของพระอิศวร
วันที่: Wed May 14 10:52:39 ICT 2025
|
|
|