ปันจุเหร็จ
ละครในเป็นละครที่ใช้ผู้แสดงเป็นหญิงล้วน เกิดขึ้นในพระราชฐาน จึงเป็นละครที่มีระเบียบแบบแผน มีความสุภาพ เป็นการแสดงที่มีความมุ่งหมายสำคัญ 3 ประการ คือ รักษาศิลปะของการรำอันสวยงาม รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างเคร่งครัด และรักษาความสุภาพทั้งบทร้อง และบทเจรจา เรื่องที่ใช้แสดงที่มีมาแต่โบราณ มีเพียง 3 เรื่อง คือ เรื่องรามเกียรติ์อิเหนา และอุณรุท
ปันจุเหร็จ หมายถึง กรอบเครื่องประดับรัดรูปหน้า บังเชิงผมตรงเหนือหน้าผาก เป็นองค์ประกอบหนึ่งของเครื่องแต่งกายยืนเครื่องหรือการกำหนดเครื่องแต่งกายที่ใช่ในการแสดงโขนหรือละคร
โดยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้มีการประดิษฐ์เครื่องสวมศีรษะขึ้นใช้แทนผ้าโพกสำหรับตัวละครหลวงที่มีใช้เฉพาะการแสดงละครเรื่อง อิเหนา เป็นครั้งแรก
เรียกว่า ปันจุเหร็จ ให้ใช้เฉพาะตัวอิเหนา ตอนปลอมเป็นปันหยี และบุษบาปลอมเป็นอุณากรรณ ซึ่งเป็นโจรป่าทั้งสองคน เพราะคำว่าปันจุเหร็จ เป็นคำที่มาจากภาษาชวาซึ่งแปลว่า โจรป่า ต่อมาจึงได้อนุญาตให้ตัวละครอื่น ๆ ใช้ปันจุเหร็จได้ เช่นไกรทอง และ ขุนแผน เป็นต้น
วันที่: Fri Dec 27 00:43:42 ICT 2024
|
|
|