ท้องสำเภา
สัญลักษณ์ทางศาสนาพุทธอีกอย่างหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับโบสถ์และน้ำก็คือเรือ ซึ่งเป็นพาหนะลำเลียงมนุษย์ให้พ้นทุกข์ น้ำที่ล้อมรอบโบสถ์เป็นขอบเขตศักดิ์สิทธิ์แทนขันธสีมา เรียกว่าอุทกสีมา ซึ่งเป็นคติพุทธศาสนานิกายมหายานสถาปัตยกรรมไทยจะมีลักษณะคล้อยไปทางรูปเรือ โดยจะเห็นได้จากสถาปัตยกรรมของสมัยอยุธยาตอนปลาย และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ฐานที่รองรับโบสถ์วิหาร และพระที่นั่งในพระราชวังล้วนเป็นแนวโค้งเหมือนกันหมดเรียกว่า ท้องสำเภา
ท้องสำเภา ในทางสถาปัตยกรรมไทยหมายถึง แนวฐานอาคารก่ออิฐเฉพาะที่เป็น ฐานโบสถ์ ฐานวิหาร และ ฐานปราสาท เป็นลักษณะพิเศษ ที่ปรากฎในช่วงสมัยอยุธยาตอนปลาย มีลักษณะเป็นแนวเส้นอ่อนช้อยเหมือนความหย่อนโค้งของเส้นเชือกตกท้องช้าง สันนิษฐานความหมาย ลักษณะโค้งท้องสำเภาเปรียบเสมือนยานหรือสำเภาที่ขนสัตว์ทั้งหลายให้ข้ามพ้น วัฏสงสารไปสู่พระนิพพาน
ท้องสำเภา ภาษาช่างเรียก เส้นหย่อนท้องสำเภา หรือ หย่อนท้องช้าง สมัยหลังนี้เส้นหย่อนท้องสำเภาในสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่จะหายไป ยังมีให้เห็นที่ฐานธรรมาสน์ ฐานพุทธรูป ซึ่งยังคงทำเส้นหย่อน ท้องสำเภาอยู่บ้าง