Support
travelchoicetv.com
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ
info@twoplusone.asia | 2013-12-25 13:23:31.0 | Hits  2729
ท้องสำเภา สัญลักษณ์ทางศาสนาพุทธอีกอย่างหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับโบสถ์และน้ำก็คือเรือ ซึ่งเป็นพาหนะลำเลียงมนุษย์ให้พ้นทุกข์ น้ำที่ล้อมรอบโบสถ์เป็นขอบเขตศักดิ์สิทธิ์แทนขันธสีมา เรียกว่าอุทกสีมา ซึ่งเป็นคติพุทธศาสนานิกายมหายานสถาปัตยกรรมไทยจะมีลักษณะคล้อยไปทางรูปเรือ โดยจะเห็นได้จากสถาปัตยกรรมของสมัยอยุธยาตอนปลาย และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ฐานที่รองรับโบสถ์วิหาร และพระที่นั่งในพระราชวังล้วนเป็นแนวโค้งเหมือนกันหมดเรียกว่า ท้องสำเภา ท้องสำเภา ในทางสถาปัตยกรรมไทยหมายถึง แนวฐานอาคารก่ออิฐเฉพาะที่เป็น ฐานโบสถ์ ...
info@twoplusone.asia | 2013-12-24 15:07:21.0 | Hits  2453
สำปั้น สิ่งหนึ่งที่สะท้อนสายสัมพันธ์ ระหว่างคนไทยกับสายน้ำได้อย่างชัดเจน คือ การใช้เรือในการสัญจร ด้วยเหตุที่เมืองไทยเคยมีแม่น้ำลำคลองมากมาย ผู้คนตั้งถิ่นฐานตามสองฝั่งแม่น้ำ ทั้งอยู่บนตลิ่งและลอยอยู่ในน้ำ เรือจึงเป็นพาหนะที่เหมาะที่สุดสำหรับคนไทย และทำให้เกิดรูปแบบต่างๆของเรือพื้นบ้านมากมาย สำปั้น เป็นชื่อของเรือต่อชนิดหนึ่ง ใช้เป็นพาหนะสำหรับอาศัยไปมา หรือบรรทุกสิ่งของสินค้าขึ้นล่องทางน้ำ โดยการแจวหรือพาย สันนิษฐานว่า ได้แบบอย่างจากเรือของจีน สำปั้น เป็นเรือต่อด้วยไม้กระดานแผ่นยาวพอประมาณ จำนวน...
info@twoplusone.asia | 2013-12-23 16:19:06.0 | Hits  2943
ดาวเพดาน การโคจรของดวงดาว ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆ บนท้องฟ้า เช่น การเกิด วัน-เดือน-ปี ข้างขึ้น-ข้างแรม น้ำขึ้น-น้ำลง หรือฤดูกาลต่างๆ ดวงดาวจึงมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของผู้คนทั้งโลกตลอดจนชาวอยุธยาของไทยเราด้วยเช่นกัน ช่างอยุธยาได้เก็บภาพความประทับใจของ "ดาว" บน "ฟ้า" มาสู่ "ดาว" บน "เพดาน" ภายในโบสถ์หรือวิหาร ซึ่งถ่ายทอดและแสดงความหมายอย่างพุทธศิลป์ คือ สวยงามทั้งทางโลกและทางธรรม จึงอยากให้สังเกตลาย ดาว ที่ประดับอยู่บนเพดานเมื่อเวลาที่เข้าไปในโบสถ์ หรือ วิหา...
info@twoplusone.asia | 2013-12-20 12:25:28.0 | Hits  2363
ตาลิปัตร "ตาลิปัตร" หรือ "ตาลปัตร" เป็นคำภาษาไทยที่นำมาจากภาษาบาลี คือ "ตาล” (ตา-ละ) กับ “ปตฺต" (ปัด-ตะ) แปลว่า ใบตาล ซึ่งเป็นสิ่งที่คนทั่วไปใช้บังแดดและใช้พัดลมมาตั้งแต่โบราณ ถือเป็นเครื่องใช้ที่จำเป็นอย่างหนึ่งในประเทศเมืองร้อน สำหรับสาเหตุที่พระสงฆ์นำตาลปัตรมาใช้นั้น มีผู้รู้บางท่านให้ความเห็นว่า การใช้ตาลปัตรแต่ดั้งเดิมนั้น ใช้เพื่อกันกลิ่นเหม็นเน่าของศพที่เน่าเปื่อย เนื่องจากพระสงฆ์ในสมัยโบราณจะต้องบังสุกุลผ้าห่อศพไปทำจีวร ดังนั้นท่านจึงต้องใช้ใบตาล...
info@twoplusone.asia | 2013-12-19 14:28:45.0 | Hits  3979
ตุงไชย ตุงไชย เป็นตุง หรือธงชนิดหนึ่งทำถวายเป็นพุทธบูชา ใช้ในงานเฉลิมฉลองต่างๆ มีความเชื่อสืบต่อกันมาว่าผู้ที่บูชาด้วยตุงนี้แล้ว เมื่อตายไปจะได้ขึ้นสวรรค์ หรือเมื่อตกนรกชายตุงจะแกว่งฉุดวิญญาณขึ้นมาจากนรก สาเหตุที่เรียก ตุงไชย นี้ อาจเป็นเพราะในอดีตเราเคยใช้ ตุงไชย เพื่อเป็นสัญญลักษณ์แห่งกองทัพ เมื่อรบชนะข้าศึกก็จะปักตุงนี้ไว้เพื่อแสดงว่ากองทัพได้รับชัยชนะจากข้าศึกแล้ว ตุงชนิดนี้จึงเรียกว่า ตุงไชย ซึ่งก็หมายความว่าธงชัยนั่นเอง แต่ในปัจจุบันนี้ ตุงไชย ใช้เฉพาะสำหรับงานพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเท่านั...
info@twoplusone.asia | 2013-12-18 11:16:04.0 | Hits  1223
จังโก ในสมัยอยุธยานั้น พบว่างานช่างบุ ดุนโลหะ เป็นงานศิลปะที่ได้รับความนิยมเป็นอันมาก พบได้จากศิลปวัตถุโบราณที่เป็นเครื่องทองจำนวนมากที่ขุดพบได้จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะและวัดมหาธาตุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อาณาจักรล้านนา เป็นดินแดนอีกแห่งหนึ่งที่งานช่างบุ ดุนโลหะ เป็นที่นิยมเป็นอันมาก ดังปรากฏให้เห็นในการประดับตกแต่งองค์พระธาตุเจดีย์ที่สำคัญๆ แทบทุกแห่ง มักจะหุ้มหรือบุด้วยแผ่นโลหะ เรียกกันในภาษาท้องถิ่นว่า จังโก หรือ สุวรรณจังโก (อ่านว่า สุ-วัน-จัง-โก) และมีการประดับด้วยฉัตรอันงดงามที่เกิดจากงา...
info@twoplusone.asia | 2013-12-16 16:38:44.0 | Hits  2046
เสมา เสมา หรือ “สีมา” ตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ หมายถึง เขตกำหนดความพร้อมเพรียงของสงฆ์ หรือเขตชุมนุมของสงฆ์ หรือเขตที่สงฆ์ตกลงไว้สำหรับภิกษุทั้งหลายที่อยู่ภายในเขตนั้นจะต้องทำสังฆกรรมร่วมกัน โดยจะเรียกพื้นที่ที่มีใบเสมาล้อมรอบว่า ”เขตสังฆกรรม” โดยทั่วไปแล้ว ใบเสมาก็จะมีเพียง 1 ใบ ใน 1 ตำแหน่ง แต่บางวัด บางพื้นที่ ก็จะมีเสมา 2-3 ใบ ในหนึ่งตำแหน่ง ใบเสมาที่มี 2 ใบ เราจะเรียกว่า เสมาคู่ ใบเสมาที่มี 3 ใบเราจะเรียกว่าเสมากลุ่ม เสมา ที่ค้นพบในประเทศไทยนั้นจะมีรูปแบบลักษณะทั้งขนาด ร...
info@twoplusone.asia | 2013-12-03 14:04:11.0 | Hits  1959
ทรงข้าวบิณฑ์ พระเจดีย์ : ชื่อเรียกสิ่งก่อสร้างในงานสถาปัตยกรรมไทยประเภทหนึ่ง มีรูปทรงสัณฐานคล้ายรูปกรวยแหลม นิยมใช้เป็นหลักประธานของวัด ในฐานะที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า หรือในฐานะสื่อสัญลักษณ์แทนสิ่งที่ควรเคารพบูชา ทรงข้าวบินฑ์ เป็นคำที่ใช้เรียกลักษณะเจดีย์แบบสุโขทัย ที่มีส่วนยอดเป็นรูปพุ่มกลม ตั้งอยู่บนเรือนธาตุ ย่อเก็จ ทรงข้าวบิณฑ์นี้ ในบางที่ก็เรียกว่า ทรงดอกบัว สถาปัตยกรรมของเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์นั้น ถือเป็นงานที่ช่างสุโขทัยสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ โดยมีพัฒนาการมาจากรูปแบบสถาปัตยกรรม...
info@twoplusone.asia | 2013-11-27 16:11:39.0 | Hits  2556
ชวาลา ชวาลา เป็นคำโบราณ หมายถึง เครื่องจุดไฟให้แสงสว่าง ใช้ตั้งกับพื้น ทำเป็นรูปถ้วยมีขาตั้ง ภายในใส่น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง มีพวยสอดไส้สำหรับจุดไฟติดอยู่ในถ้วย หรืออาจมีพวยยื่นมาใช้ใส่ไส้สำหรับจุดไฟ และอีกด้านหนึ่งมีหูจับยกได้ หรือในความหมายปัจจุบันก็คือ ตะเกียงดินเผา นั่นเอง ต้นแบบที่กล่าวกันว่าเป็นต้นแบบของตะเกียงดินเผา ก็คือ ตะเกียงโรมันสำริดยุคไบแซนไทน์ ตรงกลางตะเกียงมีฝาเปิดสำหรับเทน้ำมัน บนฝาหล่อเป็นรูปหน้าเทพเจ้าเซเลนัส ในศิลปะกรีก-โรมัน ตรงปลายมีช่องใส่ไส้สำหรับจุดไฟ สันนิษฐาน...
info@twoplusone.asia | 2013-11-22 11:10:13.0 | Hits  2050
โขลนเรือ เรือพระราชพิธีถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปวัฒนธรรมและฝีมือของช่างที่เยี่ยมยอด ทั้งช่างแกะสลัก ช่างรัก ช่างประดับกระจก ช่างไม้ ช่างเขียน โดยเฉพาะส่วนที่งดงามที่สุดของเรือพระราชพิธี คือ “โขลนเรือ” หรือ “โขนเรือ” นั้นยิ่งแสดง ให้เห็นศิลปะไทยอันวิจิตรงดงามยิ่ง โขนเรือ คือ ไม้ฉลักรูปลอยตัว ติดอยู่ตอนหัวเรือ เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติม ที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อความงดงามในด้านศิลปะเพื่อแสดงศักดิ์ของผู้เป็นเจ้าของ เช่น รูปนารายณ์ท...
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6