Support
travelchoicetv.com
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ
info@twoplusone.asia | 2013-08-09 14:05:17.0 | Hits  2801
ม้าต่างไหม หากเอ่ยถึงศิลปะล้านนาแล้ว งานด้านสถาปัตยกรรมถือว่าเป็นงานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่นกว่าศิลปกรรมในด้านอื่นๆ อาจสังเกตได้จากวิหารแบบล้านนามักจะมีลักษณะเป็นอาคารเครื่องไม้เกือบทั้งหลัง รูปทรงของวิหารค่อนข้างลาดเตี้ยและมีโครงสร้าง ของเครื่องบนเป็นแบบเหลี่ยมชั้น ซ้อนกันจากใหญ่ไปหาเล็ก ซึ่งแบบแผนโครงสร้างแบบนี้เป็นลักษณะเฉพาะตัวที่มีชื่อเรียกเฉพาะว่า “ม้าต่างไหม” จัดเป็นภูมิปัญญาด้านสถาปัตยกรรมของชาวล้านนามาแต่ครั้งโบราณ ที่มาของคำว่าม้าต่างไหมมาจากการที่พ่อค้าม้าในล้านนาไ...
info@twoplusone.asia | 2013-08-07 13:04:32.0 | Hits  1345
เสาหงส์ เสาหงส์ คือ เสาสูงมียอดเป็นตัวหงส์เกาะบนปลายเสา ปักถวายเป็นพุทธบูชาในบริเวณพุทธาวาส มีที่มาจากคตินิยมของมอญที่เผยแพร่เข้ามาในดินแดนของประเทศไทย ธรรมเนียมนิยมทางภาคเหนือมักใช้ แขวนตุงห้อย หรือธงห้อยที่ปลายจะงอยปากหงส์ ในงานนักขัตฤกษ์และงานบุญทั่วไป หงส์ในทางพุทธศาสนายังเป็นสัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์และภูมิธรรมอันสูงส่ง ด้วยชาวพุทธ เชื่อว่าหงส์เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ เนื่องจากในอดีตพระพุทธเจ้า เคยเสวยพระชาติเป็นพญาหงส์ ดังปรากฏในจุลหงส์ชาดก นอกจากนี้ยังเชื่อว่าหงส์ เป็นจ้าวแห...
info@twoplusone.asia | 2013-07-29 13:42:45.0 | Hits  7614
บัณเฑาะว์ บัณเฑาะว์ เป็นชื่อเรียกเครื่องตีให้เกิดเสียง ใช้ในพิธีพราหมณ์ ไทยคงได้เครื่องตีชนิดนี้มาจากอินเดีย มีลักษณะคล้ายกลองสองหน้าขนาดเล็ก ตัวกลองทำด้วยไม้ขนาดเล็กพอมือถือ หัวและท้ายใหญ่ ตรงกลางคอด มีสายโยงเร่งเสียงใช้เชือกร้อยโยงห่างๆ มีสายรัดอกตรงกลางที่คอด และมีหลักยาวอันหนึ่งรูปเหมือนหัวเม็ดทรงมัณฑ์ ทำด้วยไม้หรืองาที่ปลายหลักมีเชือกผูก ปลายเชือกอีกด้านหนึ่งผูกลูกตุ้ม เมื่อพราหมณ์ทำพิธีแกว่งบัณเฑาะว์ให้ลูกตุ้มที่ปลายเชือกเหวี่ยงตัวไปกระทบที่หนังหุ้มบัณเฑาะว์ ทำให้เกิดเสียงดัง อาการที่พราหม...
info@twoplusone.asia | 2013-07-18 15:20:48.0 | Hits  2597
ยั่วยาน คานหาม ยั่วยานคานหาม พาหนะหิ้วหามสำหรับผู้มีบรรดาศักดิ์นั่ง ถือเป็นเครื่องประกอบยศ ต้นกำเนิดของยั่วยานคานหามนั้น น่าจะเกิดในกลุ่มบุคคลผู้ทรงอำนาจหรือผู้มีศักดิ์สูงก่อนเนื่องจาก มีข้าทาสบริวารประจำสามารถอาศัยแรงงานแบกหามได้ หลักฐานที่ปรากฎค่อนข้างชัดเจนเกี่ยวกับยั่วยานคานหามของไทยในอดีต คือจดหมายเหตุที่บันทึกโดยมองซิเออร์ เดอลาลูแบร์ ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีในกรุงศรีอยุธยา ได้กล่าวถึงคานหามและยานซึ่งใช้กันในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สรุปความได้ว่า ยั่วยานคานหามเป็นพาหนะสำห...
info@twoplusone.asia | 2013-07-10 09:52:16.0 | Hits  2532
กรอบเช็ดหน้า เรือนไทย เป็นมรดกแห่งภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย เป็นงานศิลปะที่สั่งสมองค์ความรู้ที่หลากหลาย รายละเอียดและองค์ประกอบของเรือนไทยทุกส่วน จึงล้วนแต่มีที่มาที่ไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับ วิถีชีวิต วัฒนธรรมของคนในสมัยก่อน ความงดงามของเรือนไทยมิใช่มีเพียงแค่รูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้น แต่ยังคงแฝงไปด้วยภาษาที่งดงามที่ซ่อนอยู่ภายในองค์ประกอบ ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่างกำหนดขึ้นเพื่อให้เกิดความหมายและความเข้าใจที่ตรงกัน กรอบเช็ดหน้า เป็นชื่อเรียกวงขอบรอบนอกของบานหรือส่วนที่เรียกว่า วงกบ หมายถึงตัวไม้ที่มี...
info@twoplusone.asia | 2013-07-04 13:56:47.0 | Hits  3105
สัตตภัณฑ์ สัตตภัณฑ์ เป็นคำในภาษาล้านนา หมายถึง เชิงเทียนที่ใช้ในการบูชาพระประธานในวิหาร เป็นผลงานศิลปะแห่งภูมิปัญญาชาวล้านนา ที่ตกผลึกทางความคิดและถูกถ่ายทอดออกมาภายใต้คติ ความเชื่อที่ผสมผสานกันระหว่างศาสนาพุทธและพราหมณ์ กลายเป็นผลงานศิลปกรรมเชิงเทียนอันทรงคุณค่า การประดิษฐ์ สัตตภัณฑ์ แต่ละชิ้น ล้วนออกแบบลวดลายงดงามแตกต่างกันไปตามความเชื่อและศรัทธา ของแต่ละบุคคล สัตตภัณฑ์ส่วนใหญ่จะสร้างด้วยไม้มีลักษณะเป็นแผงรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วติดไม้กลึงเป็นเชิงเทียน ๗ เชิง กรอบมักทำเป็นรูปพญานาคเลื้อยลงมาคล้าย...
info@twoplusone.asia | 2013-06-27 10:30:18.0 | Hits  1978
ยอดพรหมพักตร์ ศิลปะขอม ได้ส่งอิทธิพลต่อศิลปะในยุคสมัยต่างๆ ของไทยเรามากมาย นับตั้งแต่ยุคสุโขทัยเรื่อยมาจนถึง ยุครัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะงานสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ และศาสนา ยอดพรหมพักตร์ เป็นองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมอย่างหนึ่งของไทยที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะขอมอย่างชัดเจน ในความหมายแรก ยอดพรหมพักตร์ คือส่วนยอดของสถาปัตยกรรมแบบขอมที่ทำเป็นพระพรหมสี่หน้าหันไปในทั้ง 4 ทิศ นิยมทำเป็นยอดของปราสาทยอดปรางค์ ที่สร้างขึ้นเป็นเทวสถานในศาสนาพราหมณ์ ความหมายที่สอง คือส่วนยอดของสถาปัตยกรรมแบบขอมที่ท...
info@twoplusone.asia | 2013-06-18 13:08:51.0 | Hits  2535
ไม้ค้ำศรี (ไม้ก๊ำสลี) เคยสังเกตบ้างหรือไม่ว่า ใต้ต้นโพธิ์ตามวัดต่างๆ ในภาคเหนือ มักจะมีไม้สามง่ามตกแต่งด้วยกระดาษสี หลากหลายสีสัน ค้ำยันอยู่ตามกิ่งก้านของต้นโพธิ์ ไม้ค้ำยันเหล่านั้นในภาษาท้องถิ่นทางเหนือเราเรียกว่า ไม้ก๊ำสลี (ไม้-ก๊ำ-สะ-หลี) ส่วนในภาษากลางจะเรียกว่า ไม้ค้ำศรี ไม้ก๊ำสลี หรือ ไม้ค้ำศรี หมายถึง เสาไม้ค้ำจุนกิ่งของต้นศรีมหาโพธิ์ ทำเป็นเสาไม้ท่อนยาวแกะสลักหรือทาสีตอนปลายแต่งเป็นง่ามสำหรับรองรับกิ่งไม้ตามคติของชาวเหนือ ที่เชื่อว่าการที่ได้นำเอาไม้ค้ำไปค้ำที่ ต้นโพธิ์นี้ เป็นสัญลักษณ์ห...
info@twoplusone.asia | 2013-06-18 12:24:03.0 | Hits  913
ราชวัติ ประเพณี ถือเป็นวิถีแห่งการดำเนินชีวิต ที่เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญต่อสังคม เป็นความประพฤติที่คนส่วนใหญ่ยึดถือเป็นแบบแผนและได้ทำการปฏิบัติสืบต่อกันมา โดยเฉพาะศาสนาจะมีอิทธิพลต่อประเพณีไทยมากที่สุด จะเห็นได้จากการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา รั้วราชวัติในงานพระราชพิธีจะสร้างอย่างแข็งแรงและสวยงาม หากเป็นงานพิธีของสามัญชนจะทำอย่างเรียบง่าย โดยใช้ไม้ไผ่ไขว้ทแยงกันแบบรั้ว พันด้วยกระดาษสีขาวหรือทาสีขาว เรียกว่า รั้วไก่ราชวัติ มีฉัตร ธง ต้นอ้อย ต้นกล้วย ปักประกอบ จึงมักเรียกกันว่า มีราชวัติฉัตรธง รา...
info@twoplusone.asia | 2013-06-17 14:12:49.0 | Hits  1778
มุทรา มุทรา (มุด-ทรา) เป็นคำในภาษาสันสกฤต หมายถึงการแสดงลีลาโดยใช้มือและนิ้วเป็นเครื่องหมายพบในพระพุทธรูปรุ่นเก่าของอินเดีย และการสร้างพระพุทธรูปในภูมิภาคอื่นๆ ภายใต้อิทธิพลศิลปะอินเดีย ในทางพุทธประติมากรรม ใช้มุทราเป็นเครื่องกำหนดปางพระพุทธรูปให้แตกต่างไปจากพุทธลักษณะอื่นๆ เป็นการอธิบายว่าพระพุทธเจ้ากำลังทรงกระทำอะไร เช่น วิตรรกมุทรา (วิ-ตัก-กะ-มุด-ทรา) หรือ ปางทรงแสดงธรรม ในพระอิริยาบถยืนหรือนั่ง พระหัตถ์ขวายกขึ้น จีบนิ้วพระหัตถ์พระอังคุฏ และพระดัชนีเป็นวงกลม อันหมายถึงธรรมจักร คือ การแสดงธรรม...
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6